คู่มือการออกแบบและควบคุมงาน หินขัด เทอราซโซ

จาก Watsadupedia
TOA

คู่มือการออกแบบและควบคุมงาน หินขัด เทอราซโซ

TERRAZZO

1 สารบัญ

3 ชนิดและประเภท 4 มาตรฐานและคุณภาพของงาน 5 การออกแบบและควบคุมคุณภาพ 6 กรรมวิธีการทำหินขัด 7 วัสดุที่ใช้ในการทำหินขัด 7 เครื่องมือและอุปกรณ์ 9 ขั้นตอนในการทำหินขัด 9 การวางแผนกำหนดระยะเวลาการทำงาน 9 การเตรียมวัสดุ 10 การผสมสี 10 การเตรียมหินเกล็ด 11 การเตรียมพื้นที่ 12 การหล่อ 12 การขัด 13 การลงน้ำมัน 14 การบำรุงรักษา 15 ปัญหาและข้อตวรคำนึงในการออกแบบ 16 หินล้าง กรวดล้างและกรรมวิธี 16 การพัฒนาคุณภาพงานหินขัดและหินล้าง 19

2 ประวัติความเป็นมา

พิ้นหินขัด Terrazzo เป็นศิลปะการตกแต่งผิวพื้นและส่วนประกอบอาคาร ที่มีประวัติและอายุสืบทอดต่อเนื่องมาจากประเทศอิตาลี นับเป็นการตกแต่งแบบ Marble Mosaic อีกประเภทหนึ่ง ส่วนใหญจะพบในคฤหาสน์และปราสาทที่ก่อสร้างในยุคศตวรรษที่ 16

จุดกำเนิดและที่มาของ Terrazzo คาดว่าเริ่มมาจากความพยายามสร้างสีสันและลวดลายลงบพื้นเพื่อให้ดูหรูหราเหมาะสมกับศิลปะและวัฒนานธรรมในยุคเรเนซอง ซึ่งค่อนข้างจะฟุ่มเฟื่อย เนื่องจากหินอ่อนธรรมชาติมีข้อจำกัดทางด้านสีสันและขนาดรูปทรงหรือ Marble Mosaic เองก็มีราคาสูงมาก เพราะต้องใช้เวลาและความพยายามสูงมากในการจัดเรียงหินอ่อนสีสันต่างๆ ในขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1½ นิ้ว โดยประมาณเข้าด้วยกัน

สำหรับ Terrazzo ให้ความสะดวกกับสถาปนิกและนักออกแบบมากกว่า เพราะเป็นการนำหินอ่อนชิ้นเล็กๆ ต่างขนาดมาผสมกับวัสดุที่ทำหน้าที่คล้ายปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ แล้วหล่อลงบนพื้นที่หรือในแบบที่กำหนดแล้วขัดลอกผิดหน้าออกให้เกิดความเรียบ มันเงา ดุจหินอ่อนธรรมชาติ แต่มีสีสันคละกันหลากหลายและไม่ถูกจำกัดในเรื่องรูปทรงและลวดลายดังเช่นหินอ่อนในทุกวันนี้ Terrazzo ก็ยังเป็นที่นิยมกันอยู่แพร่หลาย อาทิเช่น ในเยอรมันและอเมริกา โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็น Public Area หรืองานตกแต่งที่ต้องการความหรูหราทันสมัย เช่น วงการแฟชั่น เป็นต้น

Terrazzo เข้ามาในประเทศไทยประมาณสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะศิลปกรรมที่เกิดขึ้นในยุคนั้นได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมของอิตาลีมากพอสมควรอาทิ พระที่นั่งอนันตสมาคม และพระราชวังบางปะอิน เป็นต้น โดยเข้ามาในรูปของแผ่นสำเร็จรูปขนาด 4x4 นิ้ว และ 8x8 นิ้ว ปัจจุบันยังคงเหลืออยู่ตามสถานที่ราชการ โบสถ์คริสเตียนและบ้านผู้ดีเก่าๆ ซึ่งสร้างในสมัยนั้น สำหรับการนำศิลปะการหล่อ Terrazzo ลงบนพื้นที่จริงๆ ในวงการหินขัดไทยนั้นเป็นการริเริ่มของท่านพันเอกอร่าม รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์ ซึ่งจบสถาปนิกจากเยอรมัน เป็นผู้ออกแบบและเผยแพร่วิทยาการทางด้านนี้ และนับจากนั้นเป็นต้นมา Terrazzo ในรูปแบบการหล่อกับที่ได้รับความนิยมแพร่หลายกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะที่สถานที่ราชการ ศาสนา อาคาร สำนักงาน โชว์รูม อาคารพาณิชย์ต่างๆ เป็นต้น เพราะมีความสวยงาม คงทน อีกทั้งยังสะดวกสบายในการบำรุงรักษา


3 ชนิดและประเภท

ชนิดและประเภทของ Terrazzo ตามที่กำหนดไว้ใน “Specification and Technical Data” โดย National Terrazzo and Mosaic Association, Inc. ของสหรัญอเมริกาแยกได้ 6 ประเภทดังนี้

  1. Standard เป็นส่วนผสมของหินเกล็ดขนาดเทียมเป็นมาตรฐานไทยเรา ได้แก่ เบอร์ 3, 3½ และ 4 ความหมายอย่างน้อยที่สุดไม่ต่ำกว่า 5 หุน หรือประมาณ 1-1½ ซม.
  2. Venetian เป็นส่วนผสมของหินเกล็ดขนาดเทียบเป็นมาตรฐานไทยเราได้แก่ เบอร์ 1 ไปจนถึงเบอร์ 4 คือทุกขนาดรวมกันหมดความหนาต้องไม่ต่ำกว่า 1 นิ้ว
  3. Berliner หรือ Palladiana คือการนำเศษหินอ่อนขนาดตั้งแต่ 4 ตร.นิ้ว ไปจนถึง 1 ตร.ฟุต มาปูสลับตละขนาดกันให้อลดูกลมกลืน เชื่อมรอยต่อด้วย Terrazzo แบบ Standard ช่องว่างระหว่างรอยต่อกว้างประมาณครึ่งนิ้วถึง 5 นิ้ว ความหนาไม่ต่ำกว่า 1 นิ้ว
  4. Rustic หรือ Washed อาจเป็นส่วนผสมของหินเกล็ดแบบ Standard หรือ Venetian ก็ได้ ซึ่งเมื่อหล่อหรือฉาบบนผิวพื้นหรือผนังของอาคารแล้วจะทำการล้างปูนซีเมนต์ส่วนที่เคลือบผิวหน้าออกในขณะที่ปูนยังไม่แห้งตัว หลังจากนั้นใช้สารเคมีทำความสะอาดให้หมดจดก็จะได้ผิวพื้นหรือผนังที่สวยงามไปอีกแบบหนึ่ง ซึ่งงานตกแต่งดังกล่าวนี้เมืองไทยเราเรียกว่า “การทำหินล้าง” ปรกติจะนิยมใช้เฉพาะผนังของอาคารเท่านั้น
  5. Conductive อยู่ให้ประเภทเดียวกันกับ Terrazzo แบบ Standard แต่มีสารประเภท Acetylene Carbon black ในส่วนผสมของพื้นและวัสดุรองพื้น เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าสถิตย์ส่วนใหญ่ใช้กับพื้นห้องศัลยกรรมของโรงพยาบาล
  6. Abrasive อยู่ในประเภทเดียวกับ Terrazzo แบบ Standard แต่ผสมกับวัสดุที่ทำให้พื้นหยาบไม่ลื่นลงไปด้วยเพื่อป้องกันอันตรายจากการลื่นหกล้ม ส่วนใหญ่จะใช้บริเวณหน้าห้องน้ำรอบสระว่ายน้ำและพ้ืนที่กลางแจ้งเป็นต้น


หินขัดหรือ Terrazzo ทั้ง 6 ชนิดนี้ที่เมืองไทยเรานำมาใช้ในลักษณะดัดแปลงที่เห็นกันอยู่ 4 ชนิด คือ

  1. Standard เป็นหินขัดที่ใช้กินเกล็ดขนาดเล็กเป็นผสม แต่ความหนาของพื้นที่ขัดจะอยู่ประมาณ 0.8 ซม. เท่านั้นซึ่งเท่ากับครึ่งหนึ่งของมาตรฐาน
  2. Venetian ในเมืองไทยเราจะใช้หินเกล็ดเบอร์ 2,3,3½ และ 4 เป็นส่วนผสม ความหนาของหินขัดประมาณ 1-1½ ซม. ซึ่งจะต่ำกว่ามาตรฐานเช่นกัน
  3. Berliner หรือ Palladiana ยังพอเห็นอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่พวกโรงหล่อที่ผลิตโต๊ะเก้าอี้สนามจะนำมาใช้มากที่สุด ที่พื้นชั้น 6 ของอาคารมาบุญครองซึ่งเป็นสวนอาหารเชลล์ชวนชิมได้ปูหินอ่อนในลักษณะของ Berliner เช่นกันแต่ยังไม่ได้ประสานรอยต่อด้วยหินขัดตามแบบมาตรฐาน
  4. Rustic หรือ Washed ก็คือ การตกแต่งพื้นหรือผนังอาคารด้วยหินล้างนั่นเอง เมืองไทยเรายังมีดารใช้งานตกแต่งประเภทนี้อยู่ แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้สารเคมีล้างคราบน้ำปูนออกจากผิวหินตามที่มาตรฐานสากลกำหนด

สำหรับ 2 ประเภทหลังคือ Conductive และ Abrasive เท่าที่ทราบยังไม่เคยพบเห็นที่ใดมาก่อนสำหรับบัวผนังส่วนที่ต่อระหว่างพื้นหินขัดกับผนังห้อง ในทางสากลได้กำหนดไว้ 3 รูปแบบคือ

  1. Flush Type นิยมใช้ในงานอาคาร สำนักงาน ธนาคาร
  2. Straight (Flush) Type ส่วนใหญ่พบในอาคารที่พักอาศัยทั่วไป
  3. Splay Type ในเมืองไทยยังไม่ค่อยพบเห็น


4 มาตรฐานและคุณภาพของงาน

ปัญหาสำคัญของหินขัด คือการขาดมาตรฐานเพราะประเทศไทยเราไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมโดยตรง ดังนั้นปัญหาที่พบบ่อย คือ เมื่องานเสร็จแล้วหินขัดกลายเป็นปัญหาในการรับมอบงาน เมื่อไม่มีมาตรฐานกำหนดก็ไม่มีเครื่องวัดคุณภาพ อีกทั้งยังเป็นงานที่ต้องใช้เวลาในการทำยาวนาน ดังนั้นเจ้าของอาคารหรือผู้ออกแบบและควบคุมงานจึงไม่สามารถแก้ไขได้โดยง่าย ทำให้บ้างส่วนเลิกเจาะจง การใช้งานหินขัด


คุณภาพงานหินขัดที่ดีเป็นอย่างไร คุณภาพงานหินขัดที่ดีนั้น ตวรจะประกอบด้วยคุณสมบัติ 4 ประการคือ

  1. พื้นผิวหน้าจะต้องปรากฏหินเกล็ดต่างขนาดเรียงชิดอัดกันแน่นสม่ำเสมอ เนื่องจากความเงางามคงทนของพื้นหินขัดนั้น เกิดจากคุณสมบัติตามธรรมชาติของเนื้อหินช่องว่างระหว่างหินเกล็ดต่างขนาดไม่ควรห่างกันเกิน 3-6 มม. ตามแต่ขนาดหินเกล็ดที่ใช้ตามมาตรฐานของ National Terrazzo and Mosaic Association, Inc. กำหนดให้ผิวของหินต้องปรากฏไม่น้อยกว่า 70% ของพื้นผิวทั้งหมด
  2. มีผิวเรียบเนียน มันเงางามตั้งแต่ก่อนลงน้ำมันชักเงา หินขัดที่เราเห็นอยู่ ซึ่งมีลักษณะด้าน ๆ นั้น จะเกิดจากการทำงานไม่ได้มาตรฐาน ความมันเงาที่เกิดเมื่อเวลาส่งมอบงานนั้นได้จากน้ำมันหรือขี้ผึ้งระเหยและหลุดร่อนออกไป ผิวของหินขัดที่ไม่ได้คุณภาพจะปรากฏให้เห็น นอกจากพื้นที่ผิวที่ไม่ได้คุณภาพจะประกอบด้วยรูพรุนของฟองอากาศและรอยอัคของวัสดุที่ใช้ขัด สิ่งสกปรกจะลงไปอุดตันในเนื้อฝังแน่น ไม่มีทางขัดลอกออกได้ นอกจากทำการขัดลอกผิวหน้าใหม่
  3. ผิวงานเรียบได้ระดับ งานหินขัดที่ดีต้องมีผิวเรียบได้ระดับสม่ำเสมอ งานหินขัดที่ไม่มีคุณภาพจะเป็นหลุมเป็นแอ่งเว้าหรือเป็นคลื่นไม่น่าดู
  4. โทนสีกลมกลืนสม่ำเสมอ ไม่ด่างหรือเข้มเป็นส่วน ๆ อันเกิดจากการแต่งผิวหน้าไม่ดี หรือการเตรียมวัสดุรองพื้นไม่สมบูรณ์ ทำให้ความชิ้นจากพื้นดินเข้ามาซึ่งพบมากในพื้นหินขัดสีเทา


5 เพิ่มเติม

watsadupedia เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลรายละเอียดผลิตภัณฑ์ ข้อมูลจำเพาะเกี่ยวกับสเปค วัสดุก่อสร้าง รวมถึงของใช้ต่างๆที่เกี่ยวกับบ้าน และอาคาร สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม เลือกสินค้า และ Live Chat ได้ที่ BeelieveSourcing.co.th

TOA